ล่ามโอลิมปิก มีหน้าที่อะไร ? คนไทยเข้าไปทำได้ด้วยหรอ ?
เชื่อว่าหลายคนที่เคยได้ชมทั้งพิธีเปิด และพิธีปิดโอลิมปิก Tokyo2020 งานกีฬาครั้งใหญ่ระดับโลกที่ญี่ปุ่นได้เป็นเจ้าภาพที่ผ่านมา น่าจะมีแอบคิดกันในใจเบาๆว่า ถ้ามีโอกาสได้ไปชม หรือ ได้ไปทำงานพาร์ทไทม์เล็กๆน้อยๆ ในนั้นบ้างสักครั้งคงจะเป็นประสบการณ์ยิ่งใหญ่ในชีวิตของเราไม่น้อย
ซึ่งความจริงแล้ว เราสามารถไปทำได้จริงๆ นะ ไม่ใช่แค่คนญี่ปุ่นที่มีโอกาสเข้าไปทำ แต่คนไทยก็มีโอกาสเข้าไปทำได้เหมือนกัน แต่ทั้งนี้ก็ใช่ว่าจะเป็นใครก็ได้ เพราะการจะเข้าไปทำได้ก็ต้องเป็นคนที่มีความสามารถตรงกับงานที่เราจะไปทำแล้วเค้าต้องการ (ยิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือภาษาญี่ปุ่นนั่นแหละ)
“พี่อ้อ” รุ่นพี่ที่กำลังอยู่ระหว่างการเป็นนักเรียนวิทยาลัยวิชาชีพ สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ ที่สถาบัน CBC ก็เป็นหนึ่งในผู้ที่อยากคว้าโอกาสนี้เหมือนกัน แม้จะรู้ว่างานใหญ่อย่างนี้ไม่น่าจะเข้าไปทำได้ง่ายๆ แต่ใครจะรู้ว่าเรซูเม่ที่พี่อ้อยื่นไป จะได้รับการพิจารณาและถูกเรียกสัมภาษณ์ จนมีโอกาสเข้าไปทำงานเป็น ล่ามโอลิมปิก จริงๆ แถมได้มาทำแบบเต็มที่เพราะอยู่ในช่วงปิดเทอมอีกด้วย !
ตามไปอ่านบทสัมภาษณ์จากพี่อ้อกันเลยดีกว่าค่ะ
ประวัติ พี่อ้อ
- เรียนจบจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เอกการจัดการการโรงแรมและท่องเที่ยว
- จบหลักสูตรภาษาญี่ปุ่นระยะสั้น และ ระยะยาว (2015-2016) จาก UNITAS Japanese Language School จ.Tokyo
- กลับมาทำงานที่ประเทศไทย 3 ปี ก่อนไปเรียนต่อหลักสูตรภาษาญี่ปุ่นระยะยาว (2019-2021) ที่ College of Business and Communication ( CBC )
- ขณะนี้กำลังศึกษาต่อวิทยาลัยวิชาชีพที่ญี่ปุ่น สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ คอร์สภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ที่ College of Business and Communication ( CBC )
พี่อ้อสมัครไปทำงาน ล่ามโอลิมปิก ได้ยังไง ?
“สมัครเป็นงานฟรีแลนซ์ไปค่ะ กับบริษัท Recruit อีกที รุ่นน้องที่ทำงานร้านอาหารด้วยกันแนะนำมา เราก็ส่งประวัติไปค่ะ เค้ารีเควสที่ N2 ขึ้นไป และ TOEIC 700 ขึ้นไป ถ้าเค้าโอเคเค้าจะเรียกสัมภาษณ์ ผ่านสัมภาษณ์ก็ได้งานเลยค่ะ”
ทำไมอยากไปทำงานนี้ ?
“ค่าชั่วโมงดีมากค่ะ (หัวเราะ) ได้ใช้ภาษาอังกฤษตรงสายที่เราเรียนมาด้วย แล้วก็ครั้งหนึ่งในชีวิต ก็อยากมีส่วนร่วมกับการแข่งกีฬาระดับโลกอย่างโอลิมปิกค่ะ และอยากเก็บไว้เป็น portfolio เวลาสมัครงานด้วย”
พี่อ้อได้เข้าไปทำส่วนไหน ?
“ได้ไปเป็นล่ามภาษาอังกฤษค่ะ เรียกว่า ホテル英語通訳 (Hoteru eigo tsuuyaku) หรือ Technical Official Supporter ไปประจำโรงแรมที่พวกนักกีฬาเข้าพักกัน โดยทั่วไปจะนั่งประจำอยู่ที่เคานท์เตอร์ Technical Official Support Desk ค่ะ
“พวกเราจะมีป้ายแขวนคอ T.O supporter หน้าที่ก็คือคอยให้ความช่วยเหลือ ผู้เกี่ยวข้องกับโอลิมปิกทุกคนที่มาพักที่โรงแรม มีทั้งนักกีฬาบางส่วน FIFA กรรมการ นักข่าวต่างๆ ซึ่งทุกคนจะไม่สามารถออกไปกินข้าวตามร้านปกติได้ และไม่สามารถใช้ขนส่งสาธารณะได้ ทางทีมอ้อถูกเซ็ตขึ้นมาเพื่อซัพพอร์ต กลุ่มคนเหล่านี้ค่ะ
สิ่งที่ทำก็เช่น คอยสอนวิธีสั่งอาหาร ซื้อของออนไลน์ เช็กเส้นทางไปสนามกีฬา และ ตารางรถบัสรับส่งตามโรงแรม เวลาทำงานคือ 15:00-24:00 น. ค่ะ ตอนอ้อกลับบ้านไม่ทันรถไฟรอบสุดท้าย เลิกงานเค้าก็ให้นอนโรงแรมที่จัดไว้ให้ฟรีด้วยค่ะ เป็นคนละโรงแรมที่ทำงาน แต่อยู่ใกล้ๆกัน”
แชร์สิ่งที่ประทับใจในการทำงานให้ฟังหน่อย
“ด้วยความที่นักกีฬาบางคนเค้าพูดภาษาอังกฤษได้ไม่ค่อยดีมาก ซึ่งทำให้สื่อสารค่อนข้างลำบาก แต่ทั้งทางโรงแรมและทีมงานอ้อ ก็พยายามพูดช้าๆ ทั้งเปิดเน็ต ทั้งเปิดรูปให้ดู ทำทุกอย่างเพื่อให้สามารถช่วยเหลือตรงตามความต้องการได้
มันไม่ใช่แค่มายืนเป็นล่ามสวยๆ แต่เรื่องจริงคือทำทุกอย่าง โทรประสานงาน วิ่งตามรสบัสก็มี เหนื่อย แต่สนุก แล้วก็ประทับใจทุกฝ่าย ทั้งๆ ที่สื่อสารกันคนละภาษา แต่ก็ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มที่ ทำให้งานแต่วันสำเร็จ ทางนักกีฬาเองก็ขอบคุณแล้วขอบคุณอีก ประทับใจกันทั้งสองฝ่ายค่ะ”
ความรู้สึกหลังจากที่ได้มาทำงาน ล่ามโอลิมปิก ?
“ความรู้สึกที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโอลิมปิก ก็รู้สึกภูมิใจและคิดถูกแล้วที่มาญี่ปุ่น เพราะก่อนหน้านี้อ้อทำงานบริษัทที่ไทย ตำแหน่ง หน้าที่การงานดีอยู่แล้ว แต่อ้ออยากพัฒนาตัวเองเลยตัดสินใจมา
ไม่เคยคาดหวังเลยว่าตัวเองจะได้มาทำงานระดับโลกแบบนี้ ยิ่งโควิดด้วย แค่เอาชีวิตให้รอดไปวันๆ ยังลำบากเลยค่ะ ตอนที่น้องส่งใบสมัครมาให้ ไม่ลังเล รีบกรอกรีบส่งประวัติ รอโทรศัพท์ ลุ้นแล้วลุ้นอีก จนได้งานนี้มา พอเริ่มทำก็รู้สึกว่าโชคดีมากที่ได้มายืนตรงนี้ ไม่รู้ว่าจะมีโอกาสแบบนี้อีกไหม”
“ปล. อ้อเป็นคนไทยคนเดียวในทีม JTB นอกนั้นจะเป็นคนญี่ปุ่นหมดค่ะ”
อ่านแล้วรู้สึกว่าเป็นประสบการณ์ที่น่าลองมากๆ ยิ่งสำหรับนักเรียนที่ได้ทั้งภาษาอังกฤษ และ ญี่ปุ่นจริงๆค่ะ เพราะไม่ใช่เป็นพาร์ทไทม์ธรรมดา แต่เราได้พบนักกีฬา กรรมการเก่งๆ ระดับโลกแบบตัวเป็นๆ ใด้ใช้ภาษาที่เรียนมาเต็มที่จริงๆ
น่าเสียดายมากที่เกิดสถานการณ์โควิดขึ้น เจ๊เอ๊ดเชื่อว่ามีคนไทยจำนวนไม่น้อย ที่อยากไปเข้าร่วมงานนี้ ไปเรียนต่อ ไปเดินอยู่ในญี่ปุ่นช่วงมหกรรมกีฬานี้ หรือ ได้เข้าไปทำงานเป็นส่วนหนึ่งของมหกรรมนี้แบบพี่อ้อ น้องๆที่กำลังเรียนภาษา หรือเพิ่งเริ่มเรียน อ่านประสบการณ์จากพี่อ้อแล้ว ก็ตั้งใจเรียนกันนะ ถ้าเมื่อไหร่ที่โอกาสมาถึงเรา เราจะได้พร้อมกว่าคนอื่นนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์แนะแนวศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่นเจเอ็ดดูเคชั่น
เป็นสำนักงานตัวแทนในประเทศไทยของสถาบันการศึกษาที่ญี่ปุ่นโดยตรง เปิดตั้งแต่ปีค.ศ.1999 แนะแนวโดยศิษย์เก่าญี่ปุ่น ดำเนินการสมัคร เรียนต่อญี่ปุ่น ครบครันทุกขั้นตอน สมัครเรียนกับโรงเรียนที่เจเอ็ดดูเคชั่นเป็นตัวแทน เหมือนการสมัครเรียนกับโรงเรียนที่ญี่ปุ่นโดยตรง ไม่คิดค่าดำเนินการใดๆ
รับรองโดยสมาคมไทยแนะแนวการศึกษานานาชาติ (TIECA)
ติดต่อสอบถาม – สมัคร เรียน
โทร. 02-2677726 ต่อ 101-104
email : ask@jeducation.com
คุยกับเจ้าหน้าที่แนะแนว ศิษย์เก่าญี่ปุ่น คลิก http://bit.ly/jed-line