ระบบการศึกษาของญี่ปุ่น

การศึกษาของญี่ปุ่นแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับคือ

การศึกษาระดับต้น ได้แก่ การศึกษาขั้นอนุบาล ซึ่งเริ่มเข้าศึกษาตั้งแต่อายุ 3 ปีไปจนถึงอายุ 5 ปี และขั้นประถมศึกษา 1-6 ตั้งแต่อายุ 6 ปีไปจนถึง 12 ปีโดยประมาณ

การศึกษาระดับกลาง ได้แก่ การศึกษาระดับมัธยมศึกษา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ มัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี และมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี

การศึกษาระดับสูง ได้แก่ การศึกษาในมหาวิทยาลัย วิทยาลัย วิทยาลัยเทคนิค และวิทยาลัยอาชีวศึกษา

ในประเทศญี่ปุ่น การศึกษานับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เด็กญี่ปุ่นทุกคนต้องเข้าเรียนตั้งแต่อายุ 6 ขวบ และถูกกำหนดให้ต้องผ่านการศึกษาภาคบังคับเป็นเวลา 9 ปี คือจบมัธยมศึกษาตอนต้น อย่างไรก็ตาม เด็กญี่ปุ่นมากกว่า 97% ศึกษาต่อจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยที่สามในสี่เข้าเรียนในโรงเรียนมัธยมปลายสายสามัญ ในขณะที่หนึ่งในสี่ที่เหลือเข้าเรียนในสายอาชีพ เช่นวิทยาลัยเทคนิค และวิทยาลัยอาชีวศึกษา 25.3% ของผู้เรียนจบชั้นมัธยมปลายจะไปศึกษาต่อในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย ในขณะที่อีกหลายคนเลือกที่จะไปศึกษาในวิทยาลัยระดับอนุปริญญา วิทยาลัยเทคนิค หรือวิทยาลัยอาชีวศึกษา (หลักสูตรวิชาชีพชั้นสูง)

midashi2

นับตั้งแต่ปี 2526 เป็นต้นมา รัฐบาลญี่ปุ่นมีนโยบายที่จะรับนักศึกษาต่างชาติเพิ่มมากขึ้น โดยตั้งเป้าไว้ว่าในศตวรรษที่ 21 จะรับนักศึกษาต่างชาติจากทั่วโลกให้ได้ถึง 100,000 คน และด้วยนโยบายนี้เอง ทำให้ทางรัฐบาลญี่ปุ่นต้องเร่งมือในการพัฒนาระบบการศึกษาและวางแผนการเพื่อแก้ปัญหา ลดอุปสรรค และให้ความช่วยเหลือนักศึกษาต่างชาติด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยมุ่งหวังให้นักศึกษาต่างชาติได้มีโอกาสเก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์ ในการศึกษาต่อที่ประเทศญี่ปุ่นให้มากที่สุด และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาประเทศบ้นเกิดเมืองนอน หลังจากสำเร็จการศึกษา เช่น

  • การกระจายข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่นให้ทั่วถึงยิ่งขึ้น ทั้งในส่วนการจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลในประเทศต่าง ๆ , การจัดนิทรรศการศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่น รวมไปถึงการบริการข้อมูลทางอินเตอร์เน็ท
  • การให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงิน ได้แก่การให้ทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาทุนส่วนตัวที่มีผลการเรียนดี (ที่เรียนอยู่ในประเทศญี่ปุ่นอยู่แล้ว ) , การลดค่าเล่าเรียนสำหรับนักศึกษาต่างชาติ
  • การให้ความช่วยเหลือในเรื่องของชีวิตความเป็นอยู่ , ที่พักอาศัย ได้แก่ การสร้างที่พักเพื่อรองรับนักศึกษาต่างชาติเพิ่มมากขึ้น , ติดต่ออาคารพนักงานบริษัทให้นักศึกษาเช่าในราคาถูก , องค์กรท้องถิ่นต่าง ๆ ก็มีการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมความสัมพันธ์และให้ความช่วยเหลือชาวต่างชาติเพิ่มมากขึ้น
  • การเพิ่มหลักสูตรนานาชาติ ด้วยการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ในปัจจุบัน ระดับปริญญาโทและเอกที่สอนเป็นภาษาอังกฤษมี 43 หลักสูตรด้วยกัน
  • สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ได้พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น มีการเปิดหลักสูตรที่หลากหลายและเปิดกว้างมากขึ้น เพื่อสนองต่อความต้องการที่แตกต่างกันของนักศึกษา
  • การปรับระบบการสอบเข้าแบบใหม่เพื่อเอื้ออำนวยสำหรับนักศึกษาต่างชาติมากขึ้น ซึ่งเริ่มใช้ระบบใหม่นี้ในปี พ.ศ. 2545
  • การสนับสนุนโครงการศึกษาต่อเนื่อง สำหรับนักศึกษาต่างชาติที่สำเร็จการศึกษาจากญี่ปุ่นแล้ว เช่นโครงการวิจัยระยะสั้นสำหรับนักเรียนเก่าญี่ปุ่น , การแนะแนวและสนับสนุนให้นักศึกษาดำเนินการศึกษาต่อเนื่องในระดับสูงขึ้น
Scroll to Top