ช่องหนีไฟ ญี่ปุ่น

ช่องหนีไฟ ที่ญี่ปุ่น

ทราบหรือไม่คะ ว่ารูปสองรูปนี้แตกต่างกันอย่างไร …?

แผนผังห้องญี่ปุ่น

จากรูป…จะเห็นว่ารูปทางฝั่งซ้ายมือพื้นที่ส่วนระเบียง (Balcony) ไม่ได้ถูกนับรวมกับพื้นที่ห้อง ซึ่งต่างจากรูปทางฝั่งขวามือที่พื้นที่ระเบียงจะถูกนับรวมไปกับพื้นที่ห้องด้วย ใช่แล้วค่ะ… นี่เป็นวิธีการคำนวณพื้นที่ใช้สอยของห้องคอนโดมิเนียมที่ญี่ปุ่นค่ะ

เวลาที่เราต้องการจะซื้อคอนโด เราย่อมมีขนาดห้องที่เราอยากได้อยู่ในใจแล้วใช่มั้ยคะ เช่น 1 ห้องนอน 40 ตร.ม. หรือ 2 ห้องนอน 80 ตร.ม. เป็นต้น ที่ไทย จะนับรวมพื้นที่ภายในห้องทั้งหมดตั้งแต่เปิดประตูห้องเข้าไป จนถึงพื้นที่บริเวณระเบียง … แต่ที่ญี่ปุ่นนั้นต่างกันตรงที่ พื้นที่ส่วนระเบียงจะไม่ถูกนับรวมในพื้นที่ห้องค่ะ

ตัวอย่างเช่น … โครงการ City Tower Meguro ห้อง 2501
– 2LDK
– Exclusive Area 68 ㎡
– Balcony 15 ㎡

   
ภาพประกอบ : http://www.sumitomo-rd-mansion.jp/shuto/meguro/index.html

หมายความว่า… โครงการ City Tower Meguro ห้อง 2501 นี้ มี 2 ห้องนอน 1 ห้องนั่งเล่นและ 1 ห้องครัว

พื้นที่ห้อง 68 ตร.ม. และมีพื้นที่ระเบียงอีก 15 ตร.ม. เพิ่มเข้ามาให้ โดยที่ราคาขายจะไม่รวมราคาของพื้นที่ส่วนระเบียง … ก็คือผู้ซื้อก็จะได้ห้องขนาด 68+15 = 83 ตร.ม.

ที่ญี่ปุ่นจะขายห้องนี้เฉพาะพื้นที่ 68 ตร.ม. เท่านั้น แต่ถ้าเป็นที่ไทยจะขายห้องนี้โดยคิดพื้นที่ห้อง + พื้นที่ระเบียง 83 ตร.ม.

เพราะเหตุใด ที่ญี่ปุ่นถึงไม่นับพื้นที่ระเบียงรวมในพื้นที่ห้องเวลาขาย ?

เจ้าของห้องสามารถใช้พื้นที่ระเบียงภายในห้องตัวเองได้ค่ะ แต่ไม่เรียกว่าเป็น “พื้นที่ส่วนตัว” เพราะเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ไฟไหม้ ซึ่งที่ญี่ปุ่นนอกจากจะมีบันไดหนีไฟเช่นเดียวกับที่บ้านเราแล้ว ที่แตกต่างจากบ้านเราก็คือ จะมี ช่องหนีไฟ ที่พื้นที่ระเบียงของแต่ละห้องด้วย

ช่องหนีไฟ ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 避難ハッチ(Hinan-hacchi) หรือ Evacuation Hatch หรือบันไดลิงฉุกเฉิน นั่นเองค่ะ

ช่องหนีไฟ ที่ระเบียง  ช่องหนีไฟ ที่ระเบียง 2
ภาพประกอบ : (ซ้าย) http://blog.livedoor.jp/willgarden/archives/51568898.html
(ขวา) http://www.naka-kogyo.co.jp/products/ladder/tascarl_spc.html

และเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ช่องหนีไฟนี้ สามารถเปิดออกมาใช้ได้โดยการดึงฝาเหล็กนั้นขึ้นมา ก็จะเป็นเหมือนรูปนี้…

บันได ภายใน ช่องหนีไฟ
ภาพประกอบ : http://www.bousaiya.co.jp/products/image/05-04.jpg

ห้องที่อยู่ด้านบนสามารถไต่บันไดหนีลงมาทีละชั้น ๆ ค่ะ โดยเมื่อมีการเปิดฝาช่องนี้ขึ้นมาแล้วนั้น จะไม่สามารถปิดเองได้ จะต้องใช้ช่างเฉพาะทางมาทำการปิดให้อยู่ในสภาพเดิม

แผนผังบันได ภายใน ช่องหนีไฟ
ภาพประกอบ: http://www.clearthlife.com/quality/brand/disaster-control04.html

เพราะฉะนั้นจากคำถามด้านบนที่ถามว่า …”เพราะเหตุใด ที่ญี่ปุ่นถึงไม่นับพื้นที่ระเบียงรวมในพื้นที่ห้องเวลาขาย ?”

คำตอบก็คือ … เนื่องจากเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน พื้นที่ส่วนระเบียงก็จะกลายเป็นทางหนีฉุกเฉินที่ห้องอื่น ๆ สามารถจะมาใช้ร่วมกับเราได้ ที่ญี่ปุ่นจึงไม่นับพื้นที่ระเบียงเป็น พื้นที่ส่วนตัว หรือก็คือเป็นที่ที่ไม่มีกรรมสิทธิ์นั่นเองค่ะ

 “สาระน่ารู้ เรื่องที่อยู่ในญี่ปุ่น โดย Sumifu Thailand” ที่เว็บไซต์เจเอ็ดดูเคชั่น
Sumifu Thailand ให้คำปรึกษา และ จัดสัมมนาเกี่ยวอสังหาริมทรัพย์ในประเทศญี่ปุ่น

 

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง

 

Scroll to Top