mitel

หากต้องการมีโทรศัพท์ใช้ในห้องพักที่เช่าจากเอกชน นักศึกษาต้องทำเรื่องขอติดตั้งโทรศัพท์ด้วยตนเอง ซึ่งสามารถทำได้โดยกดโทรศัพท์หมายเลข 116 แจ้งความจำนงไปยัง NTT ( NTT Communications Corporation ) หลังจากนั้นก็ไปยื่นเรื่อง ณ ที่สำนักงานของ NTTสาขาใกล้บ้าน เอกสารที่จำเป็นคือบัตรประจำตัวคนต่างชาติ เพื่อให้สามารถยืนยันที่อยู่ได้ และเสียค่าเช่าสิทธิ์เป็นจำนวนเงิน 75,000 เยน นอกจากนั้นยังมีค่าภาษีผู้บริโภคอีก 5 % และค่าติดตั้งอีกประมาณ 10,000 เยน เมื่อยื่นเรื่องเรียบร้อยแล้วก็ต้องนัดวันให้เจ้าหน้าที่มาติดตั้ง ในวันที่มาติดตั้ง นักศึกษาก็ต้องอยู่ที่บ้านด้วย ส่วนเครื่องโทรศัพท์จะซื้อหรือเช่าของ NTT หรือซื้อเอาเองจากร้านทั่วไปก็ได้

นอกจากการขอติดตั้งโทรศัพท์ด้วยตนเองแล้ว มีบริษัทเอกชนหลายแห่งที่มีบริการให้เช่าโทรศัพท์ แต่โทรศัพท์เช่าทั่วไปนั้นโดยมากแล้วไม่สามารถโทรทางไกลไปต่างประเทศได้

การชำระค่าบริการโทรศัพท์
บิลแจ้งหนี้ค่าโทรศัพท์จะส่งมาทุกเดือน ซึ่งสามารถชำระได้ที่สาขาของ NTT , ธนาคาร , ไปรษณีย์ , ร้านสะดวกซื้อ หรือหักจากบัญชีธนาคารหรือไปรษณีย์ที่มีบัญชีเงินฝากอยู่

การขายโทรศัพท์
เมื่อนักศึกษาจะเดินทางกลับประเทศหลังจากสำเร็จการศึกษา สามารถขายสิทธิ์ที่ถือหมายเลขโทรศัพท์ของตนเองได้ โดยอาจจะประกาศขายของมือสองทางหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร ทั้งนี้ต้องทำเรื่องแจ้งให้กับทาง NTT ทราบถึงชื่อและที่อยู่ของผู้เช่าสิทธิ์คนใหม่ และชำระค่าโอนอีกประมาณ 1,000 เยน แต่ในกรณีที่ไม่สามารถหาผู้มาซื้อได้ ก็มีบริษัทหลายแห่งที่ต้องการซื้อโทรศัพท์มือสอง แต่จะให้ราคาที่ค่อนข้างถูก

 

โทรศัพท์ทางไกลภายในประเทศ

ในการโทรศัพท์ทางไกลไปยังเมืองอื่น ๆ ภายในประเทศญี่ปุ่นนั้น ทำได้โดยการกดรหัสทางไกลของเมืองที่จะโทรไป แล้วตามด้วยหมายเลขโทรศัพท์ แต่นอกเหนือจากบริการของ NTT แล้ว ยังสามารถใช้บริการของบริษัทอื่น ๆ ได้อีก ได้แก่ KDDI , Japan Telecom , Teleway Japan ซึ่งค่าบริการอาจจะถูกกว่าของ NTT เล็กน้อย แตกต่างกันไปตามแต่พื้นที่และเวลาที่โทร บางบริษัทสามารถใช้ได้เลย บางบริษัทต้องสมัครขอใช้บริการก่อน แต่ทุกบริษัทไม่คิดค่าสมัครแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะใช้บริการของ NTT หรือบริษัทอื่น หากโทรตอนกลางคืนและในวันหยุด ค่าบริการจะถูกกว่าโทรในวันธรรมดา ตอนกลางวัน นอกจากนั้นแต่ละบริษัท ยังมีโปรโมชั่นพิเศษหลายหลากแพ็คเกจในราคาที่ถูกกว่าปกติให้เลือกตามการใช้งานอีกด้วย ซึ่งรายละเอียดของโปรโมชั่นพิเศษเหล่านี้ สามารถดูได้ที่ Homepage ของแต่ละบริษัท

ในการใช้บริการโทรทางไกลของบริษัทอื่น ๆ นอกเหนือจาก NTT นั้น ต้องกดรหัสบริษัท 4 หลักของบริษัท » ตามด้วยรหัสทางไกลของท้องถิ่น » หมายเลขที่ต้องการจะโทร เช่น

โทรจากโตเกียวไปยังโอซาก้า

[ws_table id=”37″]

[ws_table id=”38″]

หมายเหตุ : KDDI คือบริษัทที่รวมตัวกันระหว่าง DDI CORPORATION, KDD Corporation และ IDO CORPORATION เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2543 โดยให้บริการทั้งโทรศัพท์ทางไกลภายในประเทศและระหว่างประเทศ รวมไปถึงมือถือและอินเตอร์เน็ท

สำหรับค่าโทรศัพท์ในญี่ปุ่นนั้น ไม่ได้คิดค่าบริการต่อครั้งเหมือนในประเทศไทย แต่จะคิดตามระยะเวลาที่โทร ถ้าใช้นานก็ต้องเสียเงินมากขึ้น กล่าวคือในไทย โทรพื้นที่เดียวกันจ่ายแค่ 3 บาทคุยนานเท่าไรก็ได้ แต่ในญี่ปุ่น 10 เยนโทรได้แค่ 3 นาที หลังจาก 3 นาทีก็จะคิดค่าบริการเพิ่ม

โทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ

โทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง นอกจาก KDDI แล้วก็ยังมีของ IDC ( Cable & Wireless IDC Inc.) และ Japan Telecom ซึ่งค่าบริการของแต่ละบริษัทก็จะแตกต่างกันเล็กน้อย แต่ที่เหมือนกันคือมีส่วนลดพิเศษหากโทรในเวลากลางคืนและในวันหยุด โปรโมชั่นพิเศษก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละบริษัท ซึ่งสามารถดูได้จาก Homepage ของบริษัทเช่นกัน

ในการใช้บริการ ให้กดรหัสบริษัท » ตามด้วยรหัสประเทศ » รหัสพื้นที่ (ไม่ต้องมี 0) » และหมายเลขโทรศัพท์ เช่น

โทรจากญี่ปุ่นมาที่จ.เชียงใหม่

[ws_table id=”39″]

[ws_table id=”40″]

THAILAND DIRECT

บริการของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ที่สามารถโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ จากญี่ปุ่นมายังประเทศไทย โดยติดต่อผ่านโอเปอเรเตอร์คนไทย และเรียกเก็บเงินปลายทางที่ประเทศไทยได้

วิธีการใช้
กดหมายเลข 0066-55-660 ( IDC ) จากนั้นจะมีโอเปอเรเตอร์คนไทยรับสาย เพื่อสอบถามชื่อนามสกุลของคุณ , หมายเลขที่คุณต้องการติดต่อ , ชื่อและนามสกุลของผู้รับ หลังจากนั้น ทางโอเปอเรเตอร์จะติดต่อไปยังผู้รับสายว่าต้องการรับสายของคุณหรือไม่ และยินดีให้เก็บเงินปลายทางหรือไม่ หากทางผู้รับตอบตกลง ทางโอเปอเรเตอร์ก็จะโอนสายให้คุณได้สนทนากับผู้รับ ซึ่งอัตราการใช้บริการ Thailand Direct นี้ ต้องใช้บริการ 3 นาทีเป็นอย่างต่ำ อัตราค่าบริการจะเป็นอัตราของประเทศไทย โดยที่ผู้โทรจากญี่ปุ่นไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น บริการนี้นักศึกษาสามารถโทรได้จากโทรศัพท์ธรรมดาที่ห้องพัก และโทรศัพท์สาธารณะ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : (02) 235-0030 ( 24 ชั่วโมง )

กรณีที่ครอบครัวโทรหานักศึกษาที่ญี่ปุ่น

กด 001 » ตามด้วยรหัสประเทศญี่ปุ่น ( 81 ) » รหัสท้องถิ่น ไม่ต้องมีเลขศูนย์ » หมายเลขโทรศัพท์ เช่น

โทรจากประเทศไทย ไปยังโตเกียว

[ws_table id=”41″]

[ws_table id=”42″]

โทรศัพท์สาธารณะ

public

โทรศัพท์สาธารณะ

บริการโทรศัพท์สาธารณะในญี่ปุ่นมีอยู่แทบจะทั่วทุกหนทุกแห่ง โทรศัพท์สาธารณะในปัจจุบันส่วนใหญ่จะใช้ได้ทั้งแบบหยอดเหรียญ (10 เยน และ 100 เยนเท่านั้น) และใช้บัตรโทรศัพท ์ แต่ก็มีบางเครื่องที่รับเฉพาะเหรียญ 10 เยนเท่านั้น (เครื่องสีชมพู) และบางเครื่องก็รับเฉพาะบัตรโทรศัพท์เท่านั้น ค่าโทรศัพท์ภายในประเทศ คิดนาทีละ 10 เยน ถ้าพูดเกินกว่านั้นก็จะมีเสียงเตือนให้หยอดเหรียญเพิ่ม ในกรณีที่หยอดเหรียญ 100 เยน จะไม่มีการทอนเงินแต่อย่างใด แม้ว่าเวลาจะยังเหลืออยู่ก็ตาม

สำหรับเครื่องโทรศัพท์ที่สามารถใช้โทรระหว่างประเทศได้นั้น จะเป็นแบบเครื่องสีเขียว แผงหน้าปัดสีทอง และแบบเครื่องสีเทา มีจอภาพและคำอธิบายวิธีใช้อย่างง่าย ๆเป็นภาษาอังกฤษและญี่ปุ่น เครื่องส่วนใหญ่สามารถใช้ได้ทั้งเหรียญและบัตรโทรศัพท์ นอกจากนั้นยังมีเครื่องโทรศัพท์ที่สามารถโทรไปต่างประเทศได้ด้วยบัตรเครดิต

greent gray blue
โทรศัพท์ภายในประเทศ โทรศัพท์ระหว่างประเทศ โทรศัพท์ใช้บัตรเครดิต

vending

ตู้ขายบัตรโทรศัพท์อัตโนมัติ

บัตรโทรศัพท์จะใช้กันอย่างแพร่หลายแทนการใช้เหรียญ เนื่องจากสะดวก ทั้งยังมีลวดลายที่สวยงาม บางบริษัทหรือองค์กรจะทำบัตรโทรศัพท์ซึ่งมีลวดลายหรือโลโก้ของบริษัทให้แก่ลูกค้าของตน เพื่อเป็นอภินันทนาการและเพื่อการโฆษณา การสะสมบัตรโทรศัพท์จึงเป็นที่นิยมอย่างหนึ่งในญี่ปุ่น บัตรโทรศัพท์สามารถหาซื้อได้โดยทั่วไป ตามตู้ขายบัตรโทรศัพท์อัตโนมัติ ร้านขายของตามสถานีรถไฟ หรือร้านคอนวีเนี่ยนสโตร์

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

» NTT Communications Corporation ( อังกฤษ,ญี่ปุ่น )แผนกติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : 116
» KDDI ( อังกฤษ , ญี่ปุ่น ) แผนกติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : 0057
» Japan Telecom ( อังกฤษ , ญี่ปุ่น ) แผนกติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : 0120 – 44 -0041
» Cable & Wireless IDC Inc. ( อังกฤษ , ญี่ปุ่น ) แผนกติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : 0120 – 03 -0061

Scroll to Top